อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศลาวได้รับความสนใจอย่างมาก จากกลุ่มลงทุนจากต่างประเทศ FDI นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ทำให้เหมืองเป็นส่วนสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจของลาว เหมืองของพวกเขาพบแร่มากกว่า 540 ชนิด ประกอบไปด้วย ทองคำ, ทองแดง, สังกะสี, ตะกั่ว และแร่ธาตุอื่นๆ ในช่วงปี 2012 อุตสหกรรมการขุดเหมืองหินทำให้ GDP เติบโตขึ่นประมาณ 7.0% ปัจจุบันนี้ประเทศลาวได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรสังกัดสหประชาชาติ ดำรงอยู่เพื่อเป็นตัวกลางการค้าระหว่างประเทศ
นับจากปี 2003 ที่ลาวเพิ่งให้ความสำคัญกับการทำเหมืองในประเทศ จนได้เริ่มโครงการขุดครั้งแรกขึ้น Sepon Mine ก่อตั้งขึ้นด้วยบริษัทในประเทศรวมถึงต่างประเทศจำนวน 127 บริษัท ในปี 2008 มีแผนทำงาน 213 โครงการครอบคลุมการขุดแร่ทั่วประเทศ โดยมีแผนที่สำรวจทางธรณีวิทยาที่จะนำมาใช้ในการทำเหมืองของปี 1964 จัดทำโดยประเทศฝรั่งเศส ได้รับการปรับปรุงใหม่ในช่วงปี 1990 ครอบคลุมพื้นที่เพียง 54.86% ของประเทศ (ประมาณ 2.3 แสนตารางกิโลเมตร) ต่อมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้รับมอบอำนาจในการสร้างฐานข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อการจัดการโครงการเหมืองที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการสำรวจในอนาคต
อัตราการผลิตแร่ในลาว
ตั้งแต่ปี 2009 ได้ประเมินไว้ว่ามีทองคำ 500 ถึง 600 ตัน ทองแดง 8 ถึง 10 ล้านตัน สังกะสี 2 ถึง 3 ล้าน ในปี 2009 มีเหมืองทำงานรวมกันประมาณ 35 แห่งรวมถึงเหมือง Sepon และPhubia ผลกระทบของการลงทุนจาก FDI ช่วยให้ประเทศลาวมีกำลังการส่งออกที่สูงมาก เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศของแร่ธาตุมีจำกัด ตามที่สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการขุด และโลหะ ณ ปี 2011 อุตสหกรรมเหมืองมีสัดส่วน 12% ของรายรับรัฐบาล และ 80% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อัตราการส่งออกของแร่ถือเป็น 45% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ส่งตรงมาจากเหมือง Sepon และเหมือง Phu Kham มากถึง 90% ของผลผลิตจากเหมืองทั้งหมดในประเทศ
หลังจากที่ลาวได้ลงนามในข้อตกลงของ “องค์การการค้าโลก (WTO)” ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในภาคอุตสหกรรมเหมืองแร่ โดยคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราการผลิตแร่อย่าง ทองแดง, ทองคำ และเงิน นอกจานนี้ด้วยการร่วมมือกับจีน และออสเตรเลีย พวกเขายังมีกำลังผลิตแร่อะลูมิเนียมกับอลูมินาที่สกัดจาก Bolaven Plateau หลังจากที่ลาวเริ่มขุดแร่อย่างหนักทำให้เริ่มเกิดมลพิษขึ้นอย่างหนาแน่นในภาคเหนือ บางส่วนได้ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง ชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งทางการลาวก็ดูเหมือนจะออกมาวางแผนช่วยเหลือแต่ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม พวกเขายังคงเดินขุดเหมืองต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้