Skip to content

        

  การทำเหมืองมีหลายประเภท แบ่งตามภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป โดยธรรมชาติแล้วแร่จะเกิดที่ชั้นหินลึกลงไปใต้พื้นผิวของโลก จึงต้องมีการขุดเจาะลงไป ก่อนที่จะนำแร่ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้ และ
ในปัจจุบันนี้ มีวิธีการทำเหมืองที่ได้รับความนิยมด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่

mind

  1. การทำเหมืองใต้ดิน (Underground Mining)

แร่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั้นใต้ดินที่ลึกลงไป การทำเหมืองใต้ดินจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง ของการทำเหมืองของปัจจุบัน โดยจะเจาะลึกลงเป็นลำดับชั้นลงไป โดยใช้ระเบิด หรือ เครื่องจักรอื่น ๆ เข้ามาช่วย และลำเลียงแร่ผ่านไปทางสายผ่าน หรือ รถเหมือง แต่การทำเหมืองประเภทนี้มีอันตรายกว่าเหมืองทั่วไปมาก เพราะมีความเสี่ยงต่อฝุ่น หรือ สารพิษจากระเบิดที่ตกค้างในระหว่างทำการขุดถ้ำ หรือ เกิดการถล่มของถ้ำลงมา ทำให้เสี่ยงต่อชีวิตของคนงานในเหมือง

  1. การทำเหมืองพลังน้ำ (Hydro-mining)

เป็นการใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พ่นไปยังหน้าชั้นผิวของแร่ให้เกิดแรงกระแทกจนระเบิดลงมายังสายพาน หรือ บนพื้นผิวด้านล่าง โดยใช้ได้ผลอย่างดีกับถ่านหิน และแร่ชนิดอื่น ๆ แต่
สามารถใช้ได้ในพื้นที่ ๆ จำกัด จึงเป็นตัวเลือกเสริมสำหรับการทำเหมืองแร่ชนิดอื่น ๆ นอกจากการทำเหมืองถ่านหิน

mine

  1. การขุดเหมืองแบบเปิด และปิด (Opencut – opencast mining)
    ในการทำเหมืองประเภทนี้ จัดเป็นการทำเหมืองที่มีต้นทุนที่มีราคาต่ำมาก ถ้าเทียบกับการทำเหมืองแบบใต้ดิน อีกทั้งยังให้ผลผลิตที่มากกว่าหลายเท่า โดยในการขุดแบบเปิดนั้น จะเป็นการขุดนำหน้าดิน พืชพันธุ์ ก้อนหินต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้ทำเหมืองด้านล่างได้อย่างสะดวก
  2. การทำเหมืองตะกอนพัดพา หรือ เหมืองลานแร่ (Alluvial or placer mining)

เหมืองประเภทนี้เป็นการเก็บเกี่ยวจากสายลำธาร ของแร่จากธรรมชาติ โดยอาศัยจากแรงน้ำชั้นใต้ดินให้พัดแร่จากชั้นหินต่าง ๆ ขึ้นมายังด้านบน โดยจะสามารถร่อนแร่ ได้จากสายน้ำเหล่านี้ เพื่อสกัดเอาแร่ต่าง ๆ ที่น้ำพัดขึ้นมาได้

  1. การทำเหมืองแร่ก้นทะเล (Seabed Mining)

เป็นการขุดแร่ใต้ทะเล โดยใช้เรือขนาดกลาง หรือ ใหญ่ ต่อท่อเพื่อดูดทรายใต้ทะเลมา และคัดกรองแร่บนเรือ และสุดท้ายจะส่งทรายกลับลงทะเลอีกครั้ง

                ในการทำเหมืองแร่ ยังมีอีกหลายวิธี นอกเหนือจาก 5 ชนิดด้านบนนี้ แต่ด้วยความล้าสมัย และมีความอันตรายจึงไม่ได้รับความนิยม จนต้องเลิกใช้งาน แต่ด้วยการอาศัยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยสมัยใหม่ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในเหมืองแร่ได้เป็นอย่างมาก