Skip to content

ภาคตะวันตกหากจะให้บอกชื่อจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด คงหนีไม่พ้นจังหวัดกาญจนบุรี อย่างแน่นอน จังหวัดนี้มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากมาย อีกทั้งบางพื้นที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจซุกซ่อนอยู่ด้วย อย่างเช่นสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำของเราในวันนี้ชื่อว่า เหมืองปิล็อก แหล่งขุมทรัพย์แห่งกาญจนบุรีที่เคยเป็นสถานที่สำคัญทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจของประเทศกันเลยทีเดียว

เหมืองปิล็อก ประวัติความเป็นมาที่น่ากลัว

หมุนเวลาย้อนกลับไปหลายสิบปี เหมืองปิล็อคแห่งนี้ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ต่อการป้องกันประเทศเลยทีเดียว ที่ต้องบอกแบบนี้ เพราะว่าตอนนั้นมีข่าวลือหนาหูว่า แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้ลักลอบเข้ามาขุดแร่ส่งขายให้กับทหารอังกฤษ ข่าวลือนี้ไปเข้าหูทางการเข้า จึงส่งเจ้าหน้าที่กรมกองมาสำรวจข่าว และพื้นที่ดังกล่าวปรากฏว่าเรื่องนี้เป็นจริงดั่งข่าวลือ ทางการพบสายแร่สำคัญอย่างดีบุก กับแร่วุลแฟรม อยู่เยอะมาก ไม่เพียงเท่านั้น ยังขุดพบสายแร่อื่นอีกเยอะแยะเลยทั้งแร่ทังสะเตน แร่ทองคำ และ แร่อื่นๆ นั่นทำให้ทางการต้องเข้ามาจัดการพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ แน่นอนว่างานนี้มีคนที่เสียผลประโยชน์จากการเข้ามาทำเหมือง โดยเฉพาะกลุ่มกรรมการแรงงานพม่าที่เคยสร้างรายได้จากการขุดแร่ดังกล่าวเมื่อไม่สามารถเข้าไปทำได้ แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้ทำการต่อสู้กับทางการเพื่อชิงพื้นที่แร่กลับมา ตอนนั้นเกิดการต่อสู้ บาดเจ็บ ล้มตายมากมาย ส่วนชื่อเมืองปิล็อคเพื้ยนมาจากคำว่า เหมืองผีหลอก

จากความรุ่งเรือง สู่ความตกต่ำ

ตอนนั้นเหมืองปิล็อกแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งพื้นที่สำคัญของนักลงทุนมากมายทั้งของไทยเอง และของต่างชาติ แต่ละพื้นที่ถูกจับจองทำเหมืองแร่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเหมืองเล็ก เหมืองใหญ่ นับรวมกันได้มากถึง 50-60 เหมืองเลยทีเดียว กลายเป็นช่วงเวลาเบ่งบานของคนทำเหมืองในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีจุดสิ้นสุด เหมืองปิล็อก เองก็เช่นกัน การทำเหมืองจากจุดสูงสุดเริ่มจะตกต่ำลงจากภาวะราคาแร่ตกต่ำทั่วโลก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2528 เหมืองเริ่มที่จะรับต้นทุนไม่ไหวจนต้องปิดตัวลงไปเรื่อยๆสุดท้ายก็ทิ้งพื้นที่ทั้งหมดพร้อมกับอดีตที่เคยรุ่งเรืองของการขุดเมืองปิล็อกไว้

จากเหมืองสู่แหล่งท่องเที่ยว

หลังจากที่เหมืองปิล็อกได้ทยอยปิดตัวลงจนหมด ทำให้พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่รกร้างไป มองอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นข้อเสียที่ทำให้ประเทศขาดรายได้จากการขายแร่ แต่อีกด้านหนึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง หลังจากใช้เวลาหลายปี เหมืองร้างเหล่านี้ก็ได้กลายสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรีไปในที่สุด

แหล่งท่องเที่ยวของ เหมืองปิล็อก

เหมืองปิล็อกแห่งนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติมากกว่า ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดได้แก่ ฐานปฏิบัติการช้างศึก ฐานที่มั่นบนเขาสูง เราจะมองเห็นยอดเข้าตะนาวศรีได้แบบ 360 องศากันเลยทีเดียว เดิมทีฐานแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งสำหรับการต่อสู้กับแรงงานชาวพม่าในการต่อสู้แย่งเหมืองแร่ แต่ตอนนี้กลายเป็นจุดถ่ายรูปที่จะทำให้เรามองเห็นความสวยงามยิ่งใหญ่ของเทือกเขาตะนาวศรี

น้ำตกจ๊อกกระดิ่น น้ำตกแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ห่างจากตัวอุทยานประมาณ 5 กิโลเมตร จุดเด่นแรกของน้ำตกนี้คือมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี แอ่งน้ำสีฟ้าครามก้นน้ำตกเป็นพื้นทรายทำให้เราสามารถเข้าไปเล่นน้ำตกแห่งนี้ได้อย่างสบายอุรากันเลยทีเดียว ใครชอบเล่นน้ำต้องน้ำตกแห่งนี้ เท่านั้นเอง ปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชมวิถีชีวิตของคนที่นี่บ้านอีต่อง บวกกับสภาพอากาศที่เย็นสดชื่นจะทำให้เราเหมือนหลุดมาอีกโลกหนึ่งที่ความวุ่นวายในชีวิตติดตามมาไม่ได้เลย

การทำเหมืองเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ค่อนข้างทำลายสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำเหมืองพอสมควร ไหนจะต้องเปิดหน้าดิน ตัดไม้ทำลายป่า ทำลายแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องอีกหลายต่อหลายอย่าง ยังไม่พอ เมื่อเริ่มทำงานในเหมืองแล้วก็จะมีมลภาวะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนในบริเวณใกล้เคียงก็เลี่ยงกับการเผชิญปัญหาเหล่านี้ได้ยากมาก แต่สุดท้ายแล้วการทำเหมืองก็ยังมีความจำเป็นอยู่มาก เพราะทรัพยากรที่ได้จากเหมืองเรานำมาใช้ประโยชน์ได้หลายช่องทาง ดังนั้นก็อาจจะทำได้เพียงแค่จำกัดขอบเขตของพื้นที่สำหรับทำเหมือง

ความจริงแล้วการทำเหมืองสามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายประเภท ไม่ได้มีเพียงแค่เหมืองทราย เหมืองหิน หรือเหมืองแร่ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นคำเรียกรวมๆ กับบริเวณที่มีการทำเหมือง ลองมาดูกันว่ารูปแบบการทำเหมืองที่ได้รับความนิยมกันมากมีอะไรบ้าง

            - เหมืองใต้ดิน ภาพการทำเหมืองแบบนี้เราจะเห็นได้บ่อยในภาพยนตร์ของต่างประเทศ เป็นการทำเหมืองที่ใช้วิธีขุดลงไปใต้ดินจนเป็นโพรงขนาดใหญ่ อาจมีการใช้เครื่องมือหนักในการขุดเจาะเมื่อถึงชั้นหินหรือชั้นดินแน่นที่เจาะได้ยาก เหมืองแบบนี้ไม่ค่อยรบกวนคนทั่วไปมากนัก แต่เป็นอันตรายต่อคนงานในเหมืองมาก

            - เหมืองพลังน้ำ เป็นการทำเหมืองที่ทำได้ในพื้นที่จำกัด วิธีการคือฉีดน้ำพลังงานสูงไปยังผิวหน้าของแร่เพื่อให้เกิดการแตกตัวออกมา แล้วก็ทำการขนย้ายทันที การทำเหมืองแบบนี้มักจะเป็นฟังก์ชันเสริมในการทำเหมืองแร่อื่นๆ มากกว่า

            - เหมืองตะกอนพัดพา อันนี้เป็นการพึ่งพิงพลังทางธรรมชาติ โดยรอให้กระแสน้ำจากชั้นใต้ดินผลักดันให้แร่ธาตุหลุดลอยออกมา มันจะไปปะปนอยู่กับตะกอนดินในแหล่งน้ำ เราก็แค่ทำการร่อนแร่เพื่อเอาไปใช้งาน

            - เหมืองก้นทะเล เป็นการขุดหาแร่ที่อยู่ใต้ท้องทะเล แน่นอนว่าต้องใช้เรือขนาดกลางเป็นอย่างต่ำ ติดตั้งท่อดูดทรายจากก้นบึ้งของทะเลขึ้นมาพร้อมกับกรองเอาแร่ธาตุที่ติดมาด้วย วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็ได้แร่ธาตุที่ต้องการในปริมาณมากเช่นเดียวกัน

นี่เป็นเพียงบางส่วนของรูปแบบในการทำเหมืองแร่ ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดมันก็คือการทำเหมือนแร่เหมือนกันหมด ใจความสำคัญคือนำทรัพยากรทางธรณีขึ้นแล้วคัดกรองเอาเฉพาะแร่ที่ต้องการ ซึ่งนับว่าต่างกันมากกับการทำเหมืองทราย

รู้จักกับเหมืองทราย

การทำเหมืองทรายถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการหาแหล่งทรายทางธรรมชาติที่มีทรายอยู่ในปริมาณมาก มักจะเป็นริมฝั่งแม่น้ำและชายทะเล แล้วก็ตั้งขอบเขตสำหรับการทำเหมือง นำเครื่องจักรสำหรับการขุดเข้าไป นำรถสำหรับการขนย้ายทรายเข้าไป เมื่อทุกอย่างพร้อมก็แค่ขุดเอาทรายที่มีอยู่ไปทำประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง บางพื้นที่การทำเหมืองทรายนั้นสร้างความเสียหายอย่างมาก เพราะมันจะต้องขุดเอาทรายออกไป ทำให้ตลิ่งริมน้ำลดขนาดลง ความแข็งแรงของแนวกั้นน้ำตามธรรมชาติก็ไม่เหลือ บางที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำได้เลยทีเดียว เพราะความกว้างของแม่น้ำมีขนาดเพิ่มมากขึ้น น้ำที่ไหลมาจึงมีความเร็วและแรง กลายเป็นการกัดเซาะชายฝั่งให้มากขึ้นอีก

มาถึงตรงนี้ก็น่าจะมองเห็นภาพคร่าวๆ กันบ้างแล้วว่าเหมืองแร่กับเหมืองทรายนั้นต่างกันอย่างไร ทั้งคู่มีข้อดีและข้อเสีย ในมุมของการอนุรักษ์ธรรมชาติ เหมืองแร่และเหมืองทรายเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายค่อนข้างมาก แต่ในมุมของการพัฒนาการทำเหมืองนั้นช่วยส่งเสริมให้การสร้างความเจริญก้าวหน้านั้นดำเนินต่อไปได้ และในระหว่างที่เรากำลังต่อว่าผู้ที่ทำเหมืองอยู่ เราเองก็อาจจะเป็นคนที่ใช้ทรัพยากรที่ได้จากการทำเหมืองมากที่สุดคนหนึ่งเลยก็ได้

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองภูเก็ตที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงก็คือ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ก่อตั้งขึ้นในสถานที่ทำเมืองแร่จริงๆ แต่ได้หยุดทำการขุดเหมืองไปนานมากแล้ว หลงเหลือไว้แต่ร่องรอยการเดินทางของทุกชีวิตที่อยู่ในเหมืองแห่งนี้ เราจะได้ทั้งความรู้และได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของสถานที่ไปพร้อมๆ กัน ความมหัศจรรย์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คือมีการแบ่งโซนเรียนรู้เอาไว้ชัดเจน บนพื้นที่กว่า 400 ไร่ แล้วก็มีการผสมผสานงานศิลปะชิโนโปรตุกัสเพื่อเพิ่มความงดงามอีกด้วย

องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์กึ่งมีชีวิต

รูปแบบของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแบบกึ่งมีชีวิต ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 โซนหลัก ได้แก่ ส่วนของการจัดแสดงภายนอกอาคาร ตรงนี้เป็นการนำเสนอพื้นที่ทำงานจริง เราจะได้รู้ว่ามีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรบ้างในการทำเหมืองแห่งนี้ ได้รู้วิถีชีวิตของคนงานเหมืองและได้สัมผัสกับอารมณ์ความรู้สึกของคนทำเหมืองจริงๆ อีกส่วนเป็นการจัดแสดงภายในอาคาร ซึ่งจัดวางในลักษณะของนิทรรศการให้ความรู้ มีการแบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ห้องนายหัวเหมือง เป็นห้องส่วนตัวของผู้ที่เป็นเศรษฐีเจ้าของเหมือง เราจะได้เห็นข้าวของเครื่องใช้ที่แสดงถึงวิถีการทำงานของผู้ที่เป็นนายจ้าง เห็นการตกแต่งห้องอันงดงามตามยศฐาบรรดาศักดิ์ในสมัยก่อน

2. ห้องเรืองรองธรณี ห้องนี้บอกเล่าถึงต้นกำเนิดแร่ธาตุต่างๆ ที่เราขุดเอาไปใช้ประโยชน์ โดยเล่าตั้งแต่ระบบสุริยจักรวาลและการถือกำเนิดของโลกใบนี้เลยทีเดียว

3. ห้องปฐพีเหมืองแร่ มาถึงห้องนี้ก็จะเข้าใกล้ความเป็นเหมืองมากขึ้น เราจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการทำเหมืองแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น การทำเหมืองอุโมงค์ การทำเหมืองสูบ การทำเหมืองปล่อง เป็นต้น แล้วก็จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ ด้วย

4. ห้องเปลี่ยนแปรแร่ธาตุ เมื่อขุดแร่มาได้แล้วก็ใช่ว่าจะเอาไปใช้งานได้เลย การจัดแสดงนิทรรศการในห้องนี้ จึงบอกเล่าเรื่องราวให้เราได้รู้ว่าขั้นตอนทั้งหมดก่อนเราจะใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุได้มีอะไรบ้าง

5. ห้องชาญฉลาดนาวาชีวิต เพราะการทำเหมืองมันไม่ใช่แค่การทำงานหาเงิน แต่มันหมายถึงชีวิตที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ห้องนี้จึงแสดงถึงการย้ายถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และความเปลี่ยนแปลงที่คนย้ายถิ่นฐานต้องพบเจอ

6. ห้องวิถีชีวิต เป็นห้องที่แสดงถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนสมัยก่อน ร้านรวง บ้านเรือน ตลอดจนสถานที่สำคัญเป็นอย่างไร การอยู่อาศัยของชุมชนชาวจีน การละเล่นและองค์ประกอบทั้งหมดของพื้นที่ ในช่วงที่เหมืองแร่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก

7. ห้องเยี่ยมยลวัฒนธรรม ห้องนี้ได้รวบรวมเอาความงดงามในเชิงศิลปะพื้นถิ่นมาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย วัสดุก่อสร้างที่มีความวิจิตรงดงาม จดหมายเหตุ ข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น

8. ห้องเลิศล้ำภูมิปัญญา นี่คือห้องสมุดที่รวบรวมเอาตำราความรู้เกี่ยวกับเหมืองแร่เอาไว้ เพียงแค่เข้าไปก็จะได้เห็นหนังสือจำนวนมากทั้งเก่าและใหม่ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย หรือจะศึกษางานวิจัยของคนในท้องถิ่นก็มีด้วยเหมือนกัน

การเข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตถือว่าเป็นโอกาสอันดี ที่จะทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเหมืองแร่ให้มากขึ้น อย่างน้อยก็เพื่อเปลี่ยนภาพจำที่เราอาจจะรับมาแบบผิดเพี้ยนจากสื่อต่างๆ แล้วเราจะได้เข้าใจว่าการทำเหมืองมันก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เรายังไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คนงานเหมืองก็เป็นผู้ที่เสียสละบางมุมของชีวิตเพื่อให้คนในสังคมได้ใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุที่ได้ แถมในเหมืองยังมีเรื่องราวหลากหลาย ความโศกเศร้า ความประทับใจ ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความขัดแย้ง ทั้งหมดนี้เราจะได้ครบถ้วนในสถานที่เดียว

Akara Gold Min123zz

และที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ ณ ขณะนี้กับเรื่องราวของเหมืองชื่อดังอย่างเหมืองอัครา ที่ถูกพูดถึงในสภาฯที่ผ่านมานี้ ก็ทำให้เราได้ยินกันมาบ้างกับชื่อเหมืองนี้ แต่จะมีใครบ้างที่จะรู้ว่าเหมืองทองชื่อดังอย่างเหมืองอัครานั้นตั้งอยู่สถานที่แห่งใด และทำไมถึงต้องเข้ามามีบทบาทกับสังคมได้มากมายขนาดนี้ และในบทความนี้เราก็จะพาทุกท่านมารู้จักกันกับเหมืองทองชื่อดังชื่อนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราก็มาเริ่มออกเดินทางไปเรียนรู้ประวัติของเหมืองทองแห่งนี้กัน

ก่อนอื่นก็ก็ควรมาทราบกันก่อนว่า  เหมืองอัครานั้นตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งจากการสืบค้นก็พบว่าเหมือง อัครานั้นตั้งอยู่ที่เขตรอยต่อ 3 จังหวัดอย่าง พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ที่ถูกครอบครองกรรมสิทธิ์อยู่ภายใต้บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเหมืองทองแห่งนี้ได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ เริ่มกิจการเหมืองทองตามที่ได้มีการทำสัญญาตกลงไว้ในสัญญาของชาวต่างชาติที่ขอเข้ามาทำสัญญาเพื่อการเปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งในหลายปีที่เหมืองทองอัคราได้ตกลงเข้ามาทำสัญญาก็มีการส่งรายได้กว่า 4000 ล้านบาทให้กับรัฐในระยะเวลาตลอดหลายที่ผ่านมาตามสัญญา ซึ่งเหมืองทองอัคราก็ได้ประกอบกิจการเหมืองทองได้ดีเสมอมาจนกระทั่งรัฐบาลใช้อำนาจตาม มาตรา 44 เพื่อระงับการทำกิจการของเหมืองทองอัคราเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็กินระยะเวลาร่วม 2 ปีกว่า โดยรัฐบาลให้เหตุผลถึงการสั่งปิดเหมืองครั้งนี้ว่าเหมืองได้ปล่อยมลพิษให้กับชาวบ้านที่อยู่ระแวกใกล้เคียงจนได้รับความเดือดร้อนเสียจนชาวบ้านที่ไม่พอใจจำนวนมากก็ได้ยื่นเรื่องต่อกรมมลพิษเพื่อให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงเวลาแรกที่เหมืองเปิดทำการแต่ก็ไม่ได้รับการเยียวยาเท่าที่ควรจนเป็นเหตุให้ถูกสั่งปิด ฝ่ายเหมืองอัครา และพนักงานภายใต้การดูแลของเหมืองเองก็ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกสั่งปิดแบบกระทันหันของเหมืองเช่นกัน ซึ่งเหมืองอัคราเองก็ต้องแบกรับหน้าที่ชดเชยเยียวยาพนักงานจำนวนมากที่ต้องตกงานจากกการปิดเหมือง ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ส่งผลให้ฝ่ายที่เสียหาย และเสียผลประโยชน์ก็ต่างออกมาเรียกร้องสิทธิ์ในเรื่องที่ตนควรจะได้รับ

ซึ่งเราก็ต้องมาตามดูกันว่าเรื่องราวของเหมืองทองอัคราแห่งนี้จะเดินทางไปเป็นอย่างไร ซึ่งในฝ่ายของเหมืองเองก็กำลังเตรียมเดินทางเพื่อฟ้องเอาผิดกับรัฐบาลต่อการกระทำที่ขัดกับกฎหมายข้อนี้ด้วย มาถึงตรงนี้แล้วหลายท่านคงจะได้รู้จักกับเหมืองแห่งนี้มากยิ่งขึ้นหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย

Agra

แร่ธาตุ อัญมณี เครื่องประดับ แก้วแหวนเงินทองต่าง ๆ ต่างเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่หา แต่การจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็ย่อมต้องมีกระบวนการวิธีในการที่จะได้มา ซึ่งสิ่งมีค่าเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งหายากสอดคล้องไปกับราคาที่สูงตามที่เป็นสิ่งของหายากด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งของหายากเหล่านี้ก็ต้องมีวัตถุดิบที่จะนำมาซึ่งเครื่องประดับที่ต้องการ ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนชื่นชอบก็คือทองคำ และวัตถุดิบเหล่านี้เองก็ต้องสรรหามาจากการขุดเหมืองทองคำ บ้างก็นำเข้าแร่ทองคำแต่อย่างไรก็ดีในประเทศไทยของเราเองก็มีเหมืองผลิตทองคำด้วยเช่นกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกันว่ามีที่สุดในประเทศไทยว่ามีแหล่งไหนบ้าง

เมืองไทยเองก็เป็นเมืองที่ส่งออกทองคำมากติดอันดับที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จากสถิติย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งเหมืองทองในไทยก็มีดังต่อไปนี้

  • บริษัท ชลสิน จำกัด ในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่กว่า 2,604 ไร่
  • บริษัท สมพงษ์ไมนิ่ง จำกัด ในพื้นที่ตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ 239 ไร่
  • บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ที่ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 93 ไร่
  • บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีพื้นที่ 697 ไร่
  • บริษัท อมันตา จำกัด ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีพื้นที่ 4,315 ไร่

ซึ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหมืองที่มีในประเทศไทย ซึ่งเหมืองเหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยให้คนในพื้นที่มีงานทำ และเศรษฐกิจการส่งออกก็เป็นไปอย่างดี ทองคำที่สกัดได้ในแต่ละปีสามารถสกัดได้นับเป็นตัน ๆ  กว่า 31 เส้นแร่ทองคำที่มีอยู่ในประเทศไทยและยังมีอีกกี่แห่งที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ นั้นส่งผลให้ประเทศไทยได้รับรายได้จากเหมืองทองเยอะมากในแต่ละปี

แต่สิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจเหมืองแร่นั้นก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่ตามมาด้วย เนื่องจากปัจจุบันเหมืองทองก็เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงไปควบคู่กับเรื่องสิ่งแวดก็จะเป็นการดีต่อทั้งทางเศรษฐกิจไทยและประโยชน์ต่อทั้งคนในชุมชน มาถึงตรงนี้แล้วหลายท่านก็คงจะได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจเหมืองทองในไทยกันมาบ้างแล้ว และคงจะทราบสถานที่ทำเหมืองในไทยกันมาบ้างแล้ว ซึ่งสถานทีเหล่านั้นก็ได้ส่งออกเมืองหลายตันต่อปีเลยทีเดียว