Skip to content

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศลาวได้รับความสนใจอย่างมาก จากกลุ่มลงทุนจากต่างประเทศ FDI นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ทำให้เหมืองเป็นส่วนสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจของลาว เหมืองของพวกเขาพบแร่มากกว่า 540 ชนิด ประกอบไปด้วย ทองคำ, ทองแดง, สังกะสี, ตะกั่ว และแร่ธาตุอื่นๆ ในช่วงปี 2012 อุตสหกรรมการขุดเหมืองหินทำให้ GDP เติบโตขึ่นประมาณ 7.0% ปัจจุบันนี้ประเทศลาวได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรสังกัดสหประชาชาติ ดำรงอยู่เพื่อเป็นตัวกลางการค้าระหว่างประเทศ

นับจากปี 2003 ที่ลาวเพิ่งให้ความสำคัญกับการทำเหมืองในประเทศ จนได้เริ่มโครงการขุดครั้งแรกขึ้น Sepon Mine ก่อตั้งขึ้นด้วยบริษัทในประเทศรวมถึงต่างประเทศจำนวน 127 บริษัท ในปี 2008 มีแผนทำงาน 213 โครงการครอบคลุมการขุดแร่ทั่วประเทศ โดยมีแผนที่สำรวจทางธรณีวิทยาที่จะนำมาใช้ในการทำเหมืองของปี 1964 จัดทำโดยประเทศฝรั่งเศส ได้รับการปรับปรุงใหม่ในช่วงปี 1990 ครอบคลุมพื้นที่เพียง 54.86% ของประเทศ (ประมาณ 2.3 แสนตารางกิโลเมตร) ต่อมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้รับมอบอำนาจในการสร้างฐานข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อการจัดการโครงการเหมืองที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการสำรวจในอนาคต

อัตราการผลิตแร่ในลาว

ตั้งแต่ปี 2009 ได้ประเมินไว้ว่ามีทองคำ 500 ถึง 600 ตัน ทองแดง 8 ถึง 10 ล้านตัน สังกะสี 2 ถึง 3 ล้าน ในปี 2009 มีเหมืองทำงานรวมกันประมาณ 35 แห่งรวมถึงเหมือง Sepon และPhubia ผลกระทบของการลงทุนจาก FDI ช่วยให้ประเทศลาวมีกำลังการส่งออกที่สูงมาก เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศของแร่ธาตุมีจำกัด ตามที่สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการขุด และโลหะ ณ ปี 2011 อุตสหกรรมเหมืองมีสัดส่วน 12% ของรายรับรัฐบาล และ 80% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อัตราการส่งออกของแร่ถือเป็น 45% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ส่งตรงมาจากเหมือง Sepon และเหมือง Phu Kham มากถึง 90% ของผลผลิตจากเหมืองทั้งหมดในประเทศ

หลังจากที่ลาวได้ลงนามในข้อตกลงของ “องค์การการค้าโลก (WTO)” ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในภาคอุตสหกรรมเหมืองแร่ โดยคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราการผลิตแร่อย่าง ทองแดง, ทองคำ และเงิน นอกจานนี้ด้วยการร่วมมือกับจีน และออสเตรเลีย พวกเขายังมีกำลังผลิตแร่อะลูมิเนียมกับอลูมินาที่สกัดจาก Bolaven Plateau หลังจากที่ลาวเริ่มขุดแร่อย่างหนักทำให้เริ่มเกิดมลพิษขึ้นอย่างหนาแน่นในภาคเหนือ บางส่วนได้ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง ชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งทางการลาวก็ดูเหมือนจะออกมาวางแผนช่วยเหลือแต่ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม พวกเขายังคงเดินขุดเหมืองต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

 

Southern mining

ภาคใต้เป็นสถานที่อุดมไปด้วยทรัพยากรมากมาย โดยเฉพาะทรัพยากรแร่ธาตุอย่างแร่ดีบุก ที่ถือได้ว่าเป็นผลผลิตหลักที่สำคัญของทางภาคใต้ ที่นี่แห่งนี้เต็มไปด้วยเหมืองแร่ดีบุกที่กระจัดกระจายไปทั่วอำเภอต่าง ๆบางแห่งถูกสร้างขึ้นมานับแต่อดีต จนปัจจุบันนี้ก็ยังมีเหมืองที่ยังคงทำงานอยู่ตลอดทุกวันนี้ ผลผลิตจากแร่ดีบุกช่วยสร้างเศรษฐกิจให้แก่จังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ช่วยส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในพื้นที่ โดยนับจากการเจริญเติบโตของกิจการเหมืองตั้งแต่ปี พ.ศ.2411 เป็นต้นมา ตอนนี้มีเหมืองทั้งหมด 184 หยุดดำเนินกิจการไปแล้ว 17 แห่งแต่ยังคงทำงานอยู่ 167 แห่ง ได้แก่ กระบี่ 13 แห่ง, ชุมพร 7 แห่ง, ตรัง 6 แห่ง, นครศรีธรรมราช 65 แห่ง, นราธิวาส 5 แห่ง, พังงา 6 แห่ง, พัทลุง 2 แห่ง, ยะลา 7 แห่ง, ระนอง 5 แห่ง สงขลา 13 แห่ง, สตูล 3 แห่ง และสุราษฎร์ธานี 52 แห่ง

นอกจากแร่ดีบุกแล้วยังมีทรัพยากรชนิดอื่น ๆ อย่าง ทองคำ ที่อยู่ในเหมืองจังหวัดนราธิวาสและชุมพร ทองคำถือเป็นแร่ที่มีมูลค่าสูง แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีการดำเนินกิจการแล้ว เหลือไว้เพียงพิพิธภัฑ์เหมืองทองคำโต๊ะโมะ ที่เปิดให้คนไทยเข้าไปเยี่ยมชมประวัติความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ ที่อดีตเคยผลิตสินแร่ทองคำออกมาทุกวัน เคยมีประวัติว่าชาวฝรั่งเศษได้มาลงทุนขุดทองคำที่นี่ได้กว่า 1,850 กิโลกรัม ถ้าราคาทองในปี พ.ศ.2483 จะอยู่ที่ราว ๆ 600 บาท/กรัม ชาวฝรั่งเศษกลุ่มนี้ทำงานได้กว่า 1.1 พันล้านบาทไทย อันดับถัดมาคือ แร่ทั่งที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทังสเตน หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า วุลฟรัม ถูกนำมาใช้แทนวัสดุเหล็กกล้า เพราะมีความแข็งแกร่งกว่าในหลาย ๆ ด้าน

ในอดีตทังสเตนยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมาก ส่วนหนึ่งคือมันเป็นแร่ที่สกัดออกมาได้ยากมาก ๆ และเมื่อขุดมาได้ก็ยากจะนำไปแปรรูปเพราะต้องอาศัยเครื่องจักรที่มีราคาแพง ทำให้ราคามันพุ่งไปถึง 3.85 ล้านบาทต่อ 1 เมตริกตัน ปัจจุบันในปี 2018 นี้ด้วยความต้องการ ผลผลิตที่มากขึ้นทำให้ราคาปรับตัวลงมาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาทต่อ 1 เมตริกตัน ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมักพบเหมืองแร่ทังสเตนได้ในอำเภอพิปูน ฉลวาง และท่าศาลา นอกจากนี้ยังมีพบในจังหวัดอื่น ๆ อย่างจังหวัดเชียงรายอีกด้วย อย่างที่เห็นว่าประเทศไทยเราตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรแร่ธาตุ ต้นไม้ธรรมชาติ แหล่งน้ำสะอาด ติดทะเล ดังนั้นไม่ใช่เพียงแต่ภาคใต้เท่านั้นที่เป็นแหล่งผลิตแร่ที่สำคัญ แต่จังหวัดอื่น ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคยังมีเหมืองที่กำลังทำงานอยู่กว่าหลายร้อยแห่ง และบางแห่งก็ยังรอคอยว่าในซักวันหนึ่งจะถูกค้นพบ

Minepic

แร่เหล็ก และแร่ต่าง ๆ เป็นทรัพยากรล้ำค่าและสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ พวกเราสร้างเหมืองแร่ตามจุดต่าง ๆ ที่ถูกค้นพบ เราเริ่มรู้ว่ามันมีความอันตราย เริ่มที่จะตระหนักถึง เมื่อมีการขุดเหมืองถ่านหินขึ้น กระบวนการขุดเจาะถ่านหินทำให้เกิดละอองแร่ธาตุที่เป็นพิษและโลหะหนักที่ซึมเข้าไปในชั้นดินและน้ำ ผลกระทบของการขุดถ่านหินจะยังคงมีอยู่เป็นเวลาหลายปีหลังจากถ่านหินถูกขุดไปจนหมดแล้วก็ตาม อันตรายของการทำเหมืองแร่ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้เลยหากทำผิดพลาดระหว่างขุดถ่านหิน ซึ่งอาจเกิดไฟลุกขึ้นได้ทำให้เผาไหม้เป็นเวลากว่าสิบปี มันจะเต็มไปด้วยควันไฟที่ลอยไปทั่วอากาศ ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ปกคลุมไปด้วยหมอกพิษ

นอกจากที่มันจะปล่อยมลพิเษออกมาแล้ว ที่น่ากลัวที่สุดคงจะไม่พ้นก๊าซมีเทน มันเป็นก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจกสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 20 เท่า ฝุ่นควันจากถ่านหินเป็นผลเสียมากต่อร่างกาย คนที่สูดดมมันเข้าไปในปริมาณมากจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นมะเร็งปอด โดยเฉพาะในคนงานเหมือง กับ ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง สถิติได้ระบุไว้ว่ามีปริมาณการเกิดอุบัติเหตุกับคนงาน บ้านเรือนใกล้เคียงสูงมาก ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากรณีดังกล่าวมากถึง 1,000 คน คนส่วนใหญ่มักไม่ต้องการอยู่อาศัยใกล้เคียงกับเหมืองก็เพราะเหตุผลหลัก ๆ ที่กล่าวมา

การทำเหมืองแร่มีหลายชนิด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเจาะเข้าไปในชิ้นหินลึกใต้ดิน แต่ก็มีอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือเหมืองแร่แบบเปิด เนื่องจากใช้ต้นทุนต่ำแต่ได้ผลผลิตเยอะ การทำเหมืองแบบนี้ส่งผลเสียต่อภูมิประเทศแบบถาวร ทำให้ชั้นดินไม่มั่นคงไม่เหมาะเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือการเกษตร ปัจจุบันเราพบเหมืองชนิดนี้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศออสเตรเลียที่คิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งหมด แน่นอนว่าทุกอย่างมีสองด้านเสมอ ผลผลิตที่มากขึ้นแลกมาด้วยการทำลายภูมิทัศน์ป่าไม้ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในบริเวณ ในระหว่างเคลียร์พื้นที่สำหรับทำเหมือง

ปัญหาไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ เมื่อฝนตกลงมาจะนำพามลพิษที่อยู่บนผิวดินลอยไปยังแหล่งน้ำ มลพิษเหล่านี้ ทำให้ระบบนิเวศในน้ำปนเปื้อนส่งผลให้ปลา และต้นไม้ใกล้ ๆ ค่อย ๆ ตายอย่างช้า ๆ ผลกระทบยังเกิดกับมนุษย์ในแบบเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหามลพิษทางเสียงเมื่อเครื่องจักรกลหนักทำงานตลอดทั้งวัน เพื่อผลิตแร่ให้บริษัทของพวกเขาร่ำรวยโดยไม่คิดว่าใครจะได้รับผลกระทบหรือไม่

Love-contractMine-SomsakCity-of-Pilkington

เมืองสมศักดิ์บ้านหลังเล็กในกลางป่าใหญ่ที่เรียบง่ายพร้อมกลิ่นไอของความรักและความผูกพันระหว่างป้าเกล็นกับคุณสมศักดิ์ ที่เป็นตำนานของที่นี่ ตำนานความรักที่ยิ่งใหญ่ที่ดังควบคู่มากับความเจริญรุ่งเรืองของเมืองปิล๊อก ซึ่งถ้าหากใครได้มาเที่ยวที่นี่แล้วคุณจะพลาดที่ต้องไปบ้านป้าเกล็นหรือเหมืองสมศักดิ์ไม่ได้เลย บ้านหลังเล็กที่มีกลิ่นไอของเค้กรสชาติดีฝีมือของป้าเกล็นที่มีรสชาติหวานหอมไม่แพ้กับตำนานความรักของที่นี่เลย

ตำนานของที่นี่เกิดขึ้นมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีชายคนนึงชื่อสมศักดิ์ เสตะพันธุ นักเรียนนอกที่ได้เดินทางไปศึกษาปริญญาโทด้านเหมืองแร่ที่เมืองแคลคูรี ในประเทศออสเตรเลีย ระหว่างที่เขาได้ศึกษาได้พบรักกับสาวออสซี่อย่างเกล็นนิส เจอร์เมน ไว้ท์ หรือป้าเกล็นที่ชาวปิล๊อกรู้จักกันดี ก่อนที่ทั้งคู่จะแต่งงานกันแล้วมาสร้างครอบครัวที่ไทย พอกลับมาที่ไทยแล้วคุณสมศักดิ์ได้สานต่อธุรกิจเหมืองแร่ของที่บ้านชื่อว่าเหมืองสมศักดิ์ ส่วนทางป้าเกล็นได้มาเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ในกรุงเทพ เหมืองสมศักดิ์เป็นพื้นที่ห่างไกลจากแสงสี ถือว่าเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบการที่อยู่ที่นี่ทั้งคู่ต้องฝันฝ่าอุปสรรคหลายอย่างเพื่อให้คนอื่นยอมรับในตัวของพวกเข้า หลังจากที่เหมืองสมศักดิ์รุ่งโรจน์ได้ไม่นานก็ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจเมื่อปี 2529 คุณสมศักดิ์เสียใจเรื่องที่เหมืองปิดลงมาก ทำให้หลังจากนั้น 2 ปีเขาเกิดป่วยเพราะตรอมใจหลัวจากนั้น 8 ปีเขาก็ได้เสียชีวิตลง ตำนานรักของเขาก็ปิดฉากลง แต่หลังจากนั้นไม่นานตำนานก็ถูกเปิดขึ้นมาใหม่เมื่อป้าเกล็นใช้พลังแห่งความรักที่มีต่อคุณสมศักดิ์ผู้ซึ่งเป็นสามีเปลี่ยนจากอดีตเมืองสมศักดิ์มาเป็นเกสเฮ้าส์เล็กๆ ในป่าใหญ่ ที่ร่มรื่น สงบเงียบล้อมรอบด้วยธรรมชาติที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นภูเขา น้ำตก แม่น้ำ และลำธาร

ตำนานเค้กสูตรของป้าเกล็น

นอกจากเรื่องความรักของป้าเกล็นและคุณสมศักดิ์แล้วยังมีตำนานเค้กของป้าเกล็นที่ถูกขนานนามว่าเป็นเค้กที่อร่อยที่สุดของที่นี่เลยทีเดียว เค้กของป้าเกล็นเป็นเบเกอรี่ที่นักท่องเที่ยวทุกคนได้มาลองชิมต้องติดใจ ป้าเกล็นมีเค้กหลายรสชาติทั้งเค้กช็อคโกแลต แครอทท้อปปิ้งมะนาว เค้กกล้วย และเมนูเด็ดคือกล้วยน้ำว้าที่โรยหน้าด้วยอัลมอนด์ ให้นักท่องเที่ยวที่เข้าไปพักในเกสเฮ้าท์นั้นได้ลิ้มรสตลอดเวลา นอกจากเบเกอรี่แล้วยังมีอีกอย่างที่ขึ้นชื่อเลยคือ บาร์บีคิวปิ้งย่างสูตรพิเศษ มีทั้งบาบีคิวไก่และซี่โครงหมูจานโตที่หมักด้วยสูตรของป้าเกล็นที่รสชาตินุ่มลิ้นเป็นเมนูที่เมื่อไหร่ที่เอามาวางไว้บนโต๊ะ ไม่กี่นาทีก็หมดไปชั่วพริบตา

minePilot

maemohpicture

ถ้าพูดถึงหน้าหนาวหลายๆ คนคงคิดถึงจังหวัดทางภาคเหนือซึ่งหลายๆ คนก็จะคิดถึงเมืองรถม้าอย่างลำปางที่จะจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่แม่เมาะเป็นประจำทุกปี และปีนี้เป็นปีที่ 14 แล้ว ปีนี้กิจกรรมจะจัดขึ้นวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน 2561 ที่กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ทุกท่านที่เข้ามาเที่ยวในงานนี้จะพบความตื่นตาและตื่นเต้นไปในเวลาพร้อมๆ กันกับกิจกรรมที่สนุกสนานแถมยังได้กระทบไหล่ดาราจากหนังเรื่องบุพเพสันนิวาสอีกด้วย ยังไม่พอแค่นั้นคุณยังได้เจอกับนักร้องศิลปินอีกมากมาย

ด้วยททท.ได้ร่วมกันจับมือกับกฟผ.จัดงานเทศกาลที่แม่เมาะเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์ รับบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติกท่ามกลางหมอกหนา และทุ่งดอกบัวตองที่เหลืองอร่าม รวมถึงพันธุ์ไม้งามนานาพันธุ์ ในงานนักท่องเที่ยวจะพบกับสไลเดอร์ธรรมชาติที่สูงที่สุด และกิจกรรมตามวิธีชุมชน รวมถึงเครื่องเล่นท้องถิ่นเช่น รถดอยท้าซิ่ง ชิงช้าพาม่วน กิจกรรมอื่นๆ รวมถึงงานร่วมชิมอาหารฝีมือชาวล้านนาแถมยังได้ช้อปปิ้งสินค้าคุณภาพอีกด้วย

งานท่องเที่ยวของแม่เมาะปีนี้ ยังเน้นบรรยากาศที่สนุกสนาน อัดแน่นด้วยความอบอุ่นพร้อมรอยยิ้มของนักท่องเที่ยวนอกเหนือไปจากนั้นชาวลำปางจะมีการสนับสนุนเรื่องการเดินทางด้วยรถม้าเพื่อต้อนรับเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมถึงอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวด้วย

นอกจากเมืองลำปางนั้นจะมีเทศกาลของแม่เมาะแล้วนั้น วันธรรมดาที่ไม่ได้จัดงาน กฟผ.แม่เมาะก็น่าสนใจไม่น้อยเลย แม่เมาะถือว่าเป็นเมืองแห่งถ่านหินลิกไนต์เป็นที่นี้ถูกค้นพบเจอถ่านหินเมื่อพ.ศ.2460 ที่มีปริมาณมากถึง 630 ล้านตัน โดยอายุของถ่านหินมีอายุถึง 40 ล้านปีเหมืองแม่เมาะนั้นมีพื้นที่ที่เป็นของกรมการป่าไม้ถึง 20,000 ไร่โดยประมาณ นอกจากเมืองแม่เมาะแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายที่ที่น่าสนใจมากมาย เช่น  สวนพฤกษชาติ พื้นที่ที่ถูกปรับปรุงจากการทิ้งดินให้เป็นขยะเปลี่ยนมาให้เป็นสวนสาธารณะที่ปลูกต้นไม้สวยงามนานาชนิด ภายในสวนพฤกษชาตินั้นยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7นั่นเอง ไกล้กันนั้นคือทุ่งดอกบัวตอง เป็นพื้นที่ของกฟผ. ที่เปิดให้คนส่วนใหญ่ได้เข้าไปท่องเที่ยวถ่ายรูปกันได้อย่างสนุกสนาน ส่วนใหญ่ทุ่งบัวตองจะบานในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงกลางเดือนธันวาคมของทุกๆ ปี ถ้าหากนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสขึ้นไปบนดอยก็จะเจอสถานที่เที่ยวอีกที่นึงคือ สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงาม ถ้าขึ้นไปจนสุดคุณจะเจอกับทัศนียภาพที่อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

ในจังหวัดลำปางยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่รอให้พวกคุณไปลิ้มลองบรรยากาศ ถ้าคุณไปในหน้าหนาวคุณจะเจอกับบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติก ด้วยหมอกและอากาศที่บริสุทธิ์ทำให้คุณลืมเรื่องเครียดๆ พร้อมกับได้ชาร์ตแบตร่างกายไปในตัวอีกด้วย